ภาษาไทย

The best Thai to English translation

เรานำเสนอบริการแปลจากอังกฤษเป็นไทย และไทยเป็นอังกฤษที่มีคุณภาพสูงสุด นักแปลของเรามีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในแปลสูง โดยสามารถแปลงานเอกสารได้ครอบคลุมและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมาย เชิงศิลปะ หรือเอกสารประเภทอื่นๆ ฉะนั้นอย่ายอมทนกับงานแปลไร้มาตรฐานและคุณภาพต่ำอีกต่อไป คุณจะสามารถมั่นใจได้ว่าเรามีความรู้ความเข้าใจด้านภาษาเป็นอย่างดี และเราจะนำเสนองานแปลที่ใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องและเหมาะสม และจะส่งไม่งานแปลคืนให้คุณหากงานชิ้นนั้นๆไม่ได้ผ่านการตรวจทานโดยผู้เชี่ยวชาญเจ้าของภาษา

คุณสามารถส่งเอกสารที่ต้องการให้แปลมาให้เราประเมินราคา ซึ่งการประเมินค่าแปลนั้นจะขึ้นอยู่กับความยากง่าย และความยาวของงานชิ้นนั้นๆ และขึ้นอยู่กับวันที่คุณต้องการให้ส่งงานแปลกลับไป

เราทำงานอย่างรัดกุมเพื่อรักษาความลับของลูกค้า ฉะนั้นเราจะไม่ใช้ชื่อของลูกค้ามาอ้างอิงในการทำตลาด และเราจะไม่ให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงงานแปลของลูกค้าได้ เราทำงานร่วมกับบริษัทที่อยู่ในรายชื่อ Fortune 500 และบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์เป็นประจำ นอกจากนี้เรายังสามารถทำงานให้กับบริษัทขนาดเล็กและผู้ที่ต้องการงานแปลเพื่อเว็บไซต์ต่างๆได้

นอกจากนี้ Thai-EnglishTranslation.com ยังให้บริการตรวจทานแก้ไขงานแปลอีกด้วย ตัวอย่างเช่น หากคุณมีเว็บไซต์ที่ได้รับการแปลแล้ว แต่ยังมีความกังวลว่าอาจใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถช่วยคุณตรวจทานได้ บรรณาธิการตรวจแก้ไขงานเจ้าของภาษาทั้งจากประเทศอังกฤษและอเมริกา (ซึ่งมีความรู้ภาษาไทยด้วย) สามารถช่วยตรวจทานงานแปลของคุณ และแนะนำให้แก้ไขในจุดที่มีความผิดพลาดได้

ไม่ต้องทนกับการใช้ภาษาอังกฤษแย่ๆอีกต่อไป!

ท่านสามารถส่งงานแปลมาให้เราประเมินราคาได้ โดยติดต่อผ่านช่องทางนี้

ทำไมงานแปลไทยเป็นอังกฤษจำนวนมากถึงมีคุณภาพแย่? ปัญหานี้มีสาเหตุหลายด้าน แต่ในที่นี้ เราจะขออธิบายให้ทราบเพียงบางสาเหตุ โดยอ้างอิงมาจากประสบการณ์การแปลและตรวจทานแก้ไขของเราที่มีมานานหลายปี

ก่อนอื่นเลย เราจะต้องเข้าใจว่าแต่ละภาษามีความแตกต่างกันอย่างมาก ภาษาไทยนั้นมีความซับซ้อนทางด้านไวยากรณ์ น้อยกว่าภาษาอังกฤษ ภาษาไทยโดยธรรมชาติแล้วมีความยืดหยุ่นมากกว่า ฉะนั้นผู้อ่านจึงต้องมีความเข้าใจในสิ่ง (หรือบุคคล) ที่ประโยคนั้นหมายถึงแต่ไม่ได้กล่าวถึงโดยตรง นี่คือสาเหตุหนึ่งที่เครื่องมือแปลภาษาต่างๆ (เช่น Google translate ) แปลข้อความออกมาได้แย่มาก เราคงได้แต่หวังว่าเมื่ออัลกอริทึมของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ได้รับการพัฒนาต่อไป การแปลโดยใช้เครื่องมือเหล่านี้จะพัฒนาตามไปด้วย ทว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2560 การแปลโดยใช้เครื่องมือเหล่านี้แทบจะไม่มีประโยชน์ในการแปลเอกสารเลย ยกเว้นว่าจะใช้แปลเพียงไม่กี่คำเท่านั้น

(ขอเรียนให้ทราบว่า เราให้บริการตรวจทานแก้ไขเอกสาร เว็บไซต์ และงานแปลอื่นๆที่แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ แต่เราจะไม่รับตรวจทานแก้ไขงานแปลที่มาจากการใช้ Google translate หรือเครื่องมือแปลภาษาอื่นๆ หากคุณต้องการให้เราตรวจทานแก้ไขเว็บไซต์ที่มีหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทย หรือเอกสารอื่นๆ กรุณาติดต่อเราโดยตรง)

ความแตกต่างด้านกาล (Tense)

ภาษาอังกฤษมีรูปแบบกาล (Tense) ในประโยคมากกว่าสิบแบบ แต่ประโยคภาษาไทยนั้นมีตัวบ่งชี้กาลเพียงแค่ไม่กี่แบบ คืออดีต ปัจจุบัน (ซึ่งเราใช้เป็นส่วนมาก ไม่ว่าช่วงเวลานั้นๆจะยาวนานแค่ไหนก็ตาม) และอนาคต แม้ว่าบางครั้งประโยคจะใช้กาลปะปนกันไป โดยทั่วไปแล้ว ในภาษาไทยจะไม่มีไวยากรณ์กำหนดตายตัวด้านการใช้กาลในประโยค ในขณะที่ประโยคภาษาอังกฤษจำเป็นที่จะต้องมี Tense เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้อง

สำหรับนักแปลที่ภาษาแรกคือภาษาไทย (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักแปลที่แปลจากภาษาไทยเป็นอังกฤษ) การมีความเข้าใจการใช้ Tense ให้ถูกต้องนั้นอาจจะเป็นปัญหาที่ยาก เนื่องจากนักแปลจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจภาษาอังกฤษและการใช้ภาษาอังกฤษโดยทั่วไปเป็นอย่างดี

เนื่องจากบางครั้ง ต้นฉบับดั้งเดิมที่เป็นภาษาไทยอาจจะไม่มีการระบุกาลของประโยคอย่างชัดเจน ดังนั้นนักแปลจึงจะต้องทำความเข้าใจกับต้นฉบับให้ดี เพื่อที่จะได้แปลออกมาให้มีรูป Tense ที่ถูกต้อง ซึ่งนับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

รูปพหูพจน์

ในภาษาไทยนั้นการจะบ่งชี้ว่าคำนามเป็นคำนามพหูพจน์ โดยส่วนใหญ่แล้วใช้การซ้ำคำ เช่นคำว่าเด็ก เมื่อเราต้องการบ่งชี้ว่ามีเด็กหลายคนเรามักจะใช้คำว่าเด็กๆ แต่เราก็ไม่ได้ใช้วิธีนี้เสมอไป จึงทำให้บางครั้งเป็นการยากที่นักแปลจะทราบว่าผู้เขียนต้นฉบับต้องการสื่อว่าเป็นคำนามเอกพจน์หรือคำนามพหูพจน์ ฉะนั้นนี่คือสิ่งหนึ่งที่นักแปลที่มีความสามารถจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะผู้เขียนต้นฉบับนั้นต้องการสื่อว่ามีมากกว่าหนึ่งหรือไม่

คำนำหน้านาม

ในภาษาไทยไม่มีการใช้คำนำหน้านามอย่างคำว่า ‘a’ หรือ ‘the’ สำหรับนักแปลที่โตมาโดยใช้ภาษาที่ไม่มีการใช้คำนำหน้านามแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องยากที่จะต้องเลือกว่าจะใช้คำนำหน้าใด (ส่วนเจ้าของภาษานั้นจะใช้คำนำหน้าโดยไม่ต้องคิด เนื่องจากเป็นสิ่งที่คุ้นเคยมานานอยู่แล้ว ฉะนั้นเจ้าของภาษาจึงไม่เข้าใจว่าทำไมการเลือกใช้คำนำหน้านามถึงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่โตมาโดยใช้ภาษาที่ไม่มีการใช้คำนำหน้านาม) เมื่อการแปลใช้คำนำหน้านามไม่ถูกต้อง เจ้าของภาษามักจะไม่ค่อยเชื่อถือว่างานแปลชิ้นนั้นมีความถูกต้อง ฉะนั้นจึงนับว่าเป็นที่เรื่องสำคัญ ที่นักแปลจะต้องเลือกใช้คำนำหน้านามให้ถูกต้องหลักไวยากรณ์

บุพบท

ภาษาไทยมีการใช้บุพบทบ้าง แต่ใช้น้อยกว่าภาษาอังกฤษมาก และมักจะมีวิธีการใช้ที่ต่างกัน ฉะนั้นนักแปลจะต้องเข้าใจความแตกต่างที่แยบยลระหว่างการใช้คำว่า ‘of’ หรือคำว่า ‘from’ ในขณะที่ภาษาไทยจะมีบุพบทแบบนี้เพียงคำเดียวเท่านั้น

ภาษาทางการ

เอกสารภาษาไทยส่วนมากโดยเฉพาะเอกสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมักจะใช้โครงสร้างถ้อยคำที่เป็นทางการ ในขณะที่ภาษาอังกฤษนั้นมีความเป็นทางการน้อยกว่าอย่างมาก และภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้ภาษาเป็นทางการเหมือนเมื่อ 50 ปีที่แล้ว การใช้ภาษาที่เป็นทางการจึงปัญหาสำหรับนักแปล เนื่องจากนักแปลมักต้องการที่จะใช้ระดับภาษาในงานแปลให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับให้มากที่สุด ในภาษาไทยเอกสารมักจะเริ่มต้นย่อหน้าด้วยคำที่เป็นทางการ (ซึ่งบางครั้งจะใช้คำขยายกริยา หรือเป็นคำที่มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า อนึ่ง (moreover) หรือ ฉะนั้น (therefore) ทว่าการใช้คำเหล่านี้ในภาษาอังกฤษที่แปลออกมาจะทำให้ดูสุขุมและเป็นทางการเกินไป หากทุกประโยคขึ้นต้นด้วยคำพวกนี้จะทำให้งานแปลดูไม่เป็นธรรมชาติและดูล้าสมัย

การแปลเป็นภาษาแรกของคุณ

สิ่งที่ดีที่สุดคือการให้นักแปลแปลไปเป็นภาษาของตนที่ใช้มาแต่เกิด ทว่าจำนวนนักแปลที่ใช้ภาษาอังกฤษมาแต่เกิดและมีความเข้าใจในภาษาไทยดีนั้นมีน้อยมาก ฉะนั้นนักแปลส่วนใหญ่ที่แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษจะเป็นคนไทยที่พูดภาษาไทยมาแต่เกิด แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเด็กที่เติบโตมาในบ้านที่พูดสองภาษาและสามารถเข้าใจทั้งสองภาษาได้ดี เด็กเหล่านั้นส่วนใหญ่แล้วไม่นิยมที่จะทำงานแปล เนื่องจากมีงานอื่นๆที่ให้เงินมากกว่า นอกจากนี้การแปลถือเป็นทักษะพิเศษที่ต้องใช้เวลาฝึกฝนนานหลายปี ไม่ใช่แค่การพูดได้สองภาษาเท่านั้น

สำหรับนักแปลที่พูดภาษาอังกฤษมาแต่เกิด ปัญหาหลักในการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษคือการขาดความเข้าใจที่ถ่องแท้ในด้านสำนวนภาษาไทย (ซึ่งมีมากในภาษาไทย) และคำย่อ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำย่อที่ใช้ในการรายงานข่าวและธุรกิจ) และการไม่เข้าใจความหมายโดยนัยทั้งหมดของข้อความนั้นๆ ทั้งนี้ ทักษะการแปลระดับมืออาชีพนั้นไม่ใช้สิ่งได้มาง่ายๆ เพราะต้องใช้เวลาฝีกฝนโดยผ่านการอ่านเอกสารและบทความภาษาไทยหลากหลายประเภทเป็นเวลานานหลายปี

สำนวนลีลา

การเข้าใจสำนวนลีลาการเขียนขึ้นอยู่กับหลักการต่างๆ เช่นการเลือกใช้คำ โครงสร้างประโยค และการใช้ภาษาทางการ การเก็บใจความสำคัญของต้นฉบับเป็นเรื่องสำคัญ แต่ว่าสิ่งนี้จะทำให้งานที่แปลออกมาไม่ค่อยลื่นไหลนัก และอาจจะไม่เข้ากันกับเนื้อหา คำบางคำในภาษาไทยนั้นแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ยากมาก เนื่องจากต้องใช้ความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรมมาประกอบด้วย การแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยก็เช่นกัน ฉะนั้นนักแปลและผู้ตรวจทานจะต้องตัดสินใจว่าใจความสำคัญใดที่จะต้องเก็บไว้ให้เหมือนต้นฉบับ และใจความสำคัญใดที่สามารถดัดแปลงแก้ไขเพื่อรักษาอรรถรสของงานแปลชิ้นนั้นๆ ในการเก็บใจความสำคัญของการแปล ผู้แปลอาจจะต้องเลือกใช้คำ หรือจัดโครงสร้างประโยคใหม่ หรือดัดแปลงในส่วนอื่นๆ สิ่งหนึ่งที่นักแปลมักทำผิดพลาดคือการแปลโดยยึดโครงสร้างภาษาไทยโดยตรง ซึ่งบางครั้งโครงสร้างแบบนี้ก็ไม่เหมาะสมกับภาษาอังกฤษ